ทำไมคนถึงนิยมดื่มเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันเราเริ่มรู้จักกับเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสุขภาพนามว่า ‘เบียร์ไร้แอลกอฮอล์’ หรือ ‘มอลต์ดริ้งค์’ แต่ต้องบอกก่อนว่า ทั้งเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ และมอลต์ดริ้งค์ คือเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน ทว่าเรียกแตกต่างออกไปตามการทำตลาดของแต่ละแบรนด์ หรือความนิยมในแต่ละประเทศ
รสชาติเหมือนเบียร์ วิธีการผลิตก็คล้ายเบียร์
แม้ประวัติศาสตร์ของเบียร์ไร้แอลกอฮอล์จะไม่เนิ่นนานถึง 5,000 ปีก่อนคริสตกาลเหมือนเบียร์ปกติ แต่ก็ต้องย้อนกลับไปถึงปี 1919 ซึ่งเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ถือกำเนิดจากการห้ามสุราในสหรัฐฯ ที่ไม่อนุญาตให้ทำการผลิต นำเข้า ขนส่ง หรือจำหน่ายสุรา โดยกฎหมายฉบับนี้ทยอยเกิดขึ้นทั่วแดนลุงแซม เริ่มต้นจากรัฐแคนซัสในปี 1881 จนกระทั่งครอบคลุมทั่วประเทศในปี 1920
ในปี 1919 ผู้ผลิตเบียร์อย่าง Anheuser-Busch, Miller หรือ Schlitz เริ่มทำเครื่องดื่มที่เรียกว่า ‘ใกล้เคียงกับเบียร์’ (Near Beer) โดยออกแบบให้เครื่องดื่มดังกล่าวมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบน้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต่อสู้กับกฎหมายในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อจะดึงแอลกอฮอล์ออกมาพวกเขาต้องต้ม หรือกรองเบียร์ที่ปรุงออกมาแบบปกติอีกครั้ง ซึ่งหลายฝ่ายบอกว่าจะทำให้เบียร์มีรสชาติแย่ลง แต่กระบวนการผลิตก็มีการพัฒนาเรื่อยมา จนปัจจุบันวิธีในการทำเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ แบ่งออกหลักๆ เป็น 3 แบบด้วยกัน
- สกัดแอลกอฮอล์ออกจากเบียร์ คือกระบวนการผลิตเบียร์ตามปกติ ก่อนใช้การสกัด หรือการทำให้แอลกอฮอล์ระเหยออกไปภายหลัง
- หมักด้วยอุณหภูมิต่ำ หมักเบียร์ด้วยอุณหภูมิต่ำเป็นเวลานาน และควบคุมไม่ให้เกิดปริมาณแอลกอฮอล์ขึ้น แต่จะมีกลิ่น และรสชาติลดลงจากเบียร์ปกติ
- ไบโอรีแอคเตอร์เทคโนโลยี เป็นกระบวนการผลิตเฉพาะของบาวาเรีย โดยควบคุมการหมักด้วยไบโอรีแอคเตอร์ หยุดยั้งเซลล์ของยีสต์ไม่ให้สร้างโครงสร้างโมเลกุลที่จะเรียงตัวกัน และเกิดเป็นแอลกอฮอล์
แรงผลักดัน
การให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค ตลอดจนความจริงที่ว่าเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์มีราคาถูกกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์
“นักช้อปไม่ถือเอาสุขภาพของตนเป็นเป้าหมายอีกต่อไป และพวกเขาได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการแพร่ระบาด โดย 61% ของชาวอเมริกันเชื่อว่าสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะมีความสำคัญมากขึ้นในปีหน้า จากข้อมูลของ NielsenIQ’s ส่วนใหญ่ การศึกษาแนวโน้มผู้บริโภคปี 2022 ล่าสุด” Kaleigh Theriault ผู้จัดการผู้นำด้านความคิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ NielsenIQ ในชิคาโกกล่าว “ผู้บริโภคสนใจทางเลือกที่ดีกว่า (ไม่ใช่ดีที่สุด) โดยต้องการทั้งคุณค่าทางโภชนาการและความสะดวกสบาย โดยลูกค้า 29% มองหาทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเมื่อซื้อของ..”
เกรซ วูด นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ IBISWorld ในลอสแองเจลิส สะท้อนความรู้สึกที่คล้ายกัน “ความใส่ใจในสุขภาพที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ตามข้อมูลของโฟร์โมสต์ “ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ปรับปรุงรสชาติของเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ส่งเสริมตลาดมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคเครื่องดื่มจำนวนมากเป็นผู้ดื่มแอลกอฮอล์และแสวงหาทางเลือกที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีรสชาติใกล้เคียงกัน” เธอกล่าวเสริม..”
ข้อมูลการวิจัยที่มีอยู่สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมประโยชน์ของ CBD ด้วยการส่งข้อความโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ตามรายงานล่าสุดของ GlobalData เกี่ยวกับตลาด CBD ทั่วโลก ความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้คนตระหนักถึงความต้องการด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
นานาชาติกำลังนิยมเบียร์ไร้แอลกอฮอล์
เมื่อเปรียบเทียบกับเบียร์ปกติแล้ว มีผลวิจัยบอกว่า เบียร์ไร้แอลกอฮอล์มีประโยชน์กว่าสุขภาพกว่ามาก โดยช่วยเพิ่มจำนวนสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง และมีส่วนประกอบของวิตามินบี 6 ที่ร่างกายต้องการ
นอกเหนือจากคุณประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ เบียร์ไร้แอลกอฮอล์ยังถูกมองว่า เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค และกระแสสุขภาพที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง ก็เป็นผลให้ตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์เจริญเติบโตตามไปด้วย
ข้อมูลจาก Global Market Insight แสดงให้เห็นว่า มูลค่าตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ในทวีปเอเชียแปซิฟิค มีมูลค่าถึง 1.5 พันล้านเหรียฐสหรัฐฯ ในปี 2016 ซึ่งประเทศที่นิยมบริโภคเบียร์ไร้เแอลกอฮอล์เป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคนี้คือ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ เมื่อข้ามฝากไปยุโรปจะพบว่า ตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ของสหราชอาณาจักรเติบโตกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่งานวิจัยจาก Digital Journal ที่คาดการณ์อัตราการเติบโตของเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ทั่วโลกบอกว่า ในปี 2023 มูลค่าทางการตลาดของเบียร์ไร้แอลกอฮอลล์ในตะวันออกกลางจะสูงถึง 533 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 9.30 เปอร์เซ็นต์
สำหรับประเทศไทยคาดว่า ตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์จะเติบโตได้อีก โดยนายอาชว มหามงคล กรรมการผู้จัดการบริษัท กัปตัน บาร์เรล จำกัด คาดคะเนสถานการณ์ของเบียร์ไร้แอลกอลฮอล์ไว้ว่า “ในช่วงหลังที่กระแสรักสุขภาพแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้ยอดจำหน่ายเบียร์ลดลง ขณะที่ความนิยมเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้น”
อ้างอิงข้อมูลจาก